กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
ประวัติองค์กร กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคาร B) ชั้น 5
ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่
กรุงเทพมหานคร
แนวคิดการพัฒนาชุมชนที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาในกลุ่มประเทศเครือจักรภพจากเดิมมาเป็น การพัฒนาที่เห็นว่าประชาชนเป็นแกนกลางของพลังขับเคลื่อนทางสังคม เมื่อแนวคิดการพัฒนาชุมชนนี้เผยแพร่ออกไปจนก่อเกิดเป็นปรัชญาเกี่ยวกับการทำ งานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างประชาชนกับรัฐบาลในการปรับปรุงสภาพความเป็น อยู่ซึ่งเรียกว่าขบวนการพัฒนาชุมชน ขบวนการดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาในประเทศไทยด้วยเช่นกัน
ในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศใช้แผนการบูรณะชนบทพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ สร้างสรรค์ชีวิตจิตใจของประชาชนในชนบทให้เหมาะสมที่จะเป็นพลเมืองดี และส่งเสริมให้ประชาชนมีการครองชีพที่ดีขึ้น และได้จัดตั้งสำนักงานพัฒนาการท้องถิ่นขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น และมีการริเริ่มโครงการพัฒนาท้องถิ่นในปีถัดมาโดยมีปลัดพัฒนากรเป็นผู้ ปฏิบัติงานซึ่งเรียกกันในภายหลังว่าพัฒนากร
ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม ฉบับที่ ๑๐ และจัดตั้งกรมการพัฒนาชุมชนขึ้นเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทยเมื่อวัน ที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ภารกิจในระยะแรกของกรมการพัฒนาชุมชนคือ ปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนในชนบทโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนและการพัฒนา ตนเอง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าพัฒนากรต้องทำงานกับประชาชน มิใช่ทำให้ประชาชน
ภารกิจความรับผิดชอบ
กรมการพัฒนาชุมชนมีบทบาทและหน้าที่ ๗ ประการ ตามกฏกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ดังนี้
- กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการ และแนวทางในการพัฒนาชุมชนระดับชาติ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐ เอกชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านการพัฒนาชุมชนได้ใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนิน งานเพื่อเสริมสร้างความสามารถและความเข้มแข็งของชุมชน
- จัดทําและพัฒนาระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสําหรับประเมินความก้าวหน้าและมาตรฐานการพัฒนาของชุมชน
- พัฒนาระบบและกลไกในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้การจัดการความรู้การอาชีพ การออม และการบริหารจัดการเงินทุนของชุมชน เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของประชาชน ชุมชน ผู้นําชุมชน องค์การชุมชน และเครือข่ายองค์การชุมชนวิเคราะห์
- สนับสนุนและพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศชุมชน ส่งเสริมการใช้ประโยชน์และการให้บริการข้อมูลสารสนเทศชุมชน เพื่อใช้ในการวางแผนบริหารการพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ศึกษาวิเคราะห์ วิจัย พัฒนาและสร้างองค์ความรู้เพื่อใช้ในงานพัฒนาชุมชน และการจัดทํายุทธศาสตร์ชุมชน
- ฝึกอบรมและพัฒนาข้าราชการ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ผู้นําชุมชน องค์การชุมชนและเครือข่ายองค์การชุมชนให้มีความรู้ ทักษะ ทัศนคติ และสมรรถนะในการทํางาน รวมทั้งให้ความรวมมือทางวิชาการด้านการพัฒนาชุมชนแก่หน่วยงานทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
- ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของกรม หรือตามที่กระทรวง หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
วิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ พันธกิจ
วิสัยทัศน์กรมการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔
“เศรษฐกิจฐานรากมั่นคงและชุมชนพึ่งตนเองได้ ภายในปี ๒๕๖๔”
กรมการพัฒนาชุมชนได้มุ่งขับเคลื่อน ไปสู่การปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งได้ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ ทำให้มีความง่าย ท้าทาย และเป็นไปได้ในการปฏิบัติให้สอดคล้องกับทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. 2560 – 2564) ยุทธศาสตร์ของประเทศไทย นโยบายของรัฐบาล สถานการณ์สภาพแวดล้อมในปัจจุบัน เพื่อให้บุคลากรทุกคน ใช้เป็นกรอบทิศทางการปฏิบัติงาน โดยสามารถกำหนดรูปแบบ นำไปประยุกต์สู่การปฏิบัติงานได้ตามความเหมาะสม และกรมการพัฒนาชุมชนได้กำหนดให้ปี ๒๕๖๐ ขับเคลื่อนวาระกรมการพัฒนาชุมชน (Agenda) เพื่อมุ่งมั่นว่ากรมการพัฒนาชุมชน พร้อมขับเคลื่อน สัมมา ชีพชุมชนเข้มแข็งภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อก้าวไปสู่ “เศรษฐกิจครัวเรือนมีความมั่นคง ประชาชนใช้ชีวิตอยู่ในชุมชน อย่างมีความสุข”
ยุทธศาสตร์ชาติ : กรอบการพัฒนาระยะยาว
โครงสร้างองค์กร
กรมการพัฒนาชุมชนแบ่งโครงสร้างของหน่วยงานออกเป็น 2 ส่วน คือ ราชการบริหารส่วนกลาง และราชการบริหารส่วนภูมิภาค ราชการบริหารส่วนกลางทำหน้าที่กำหนดนโยบาย สนับสนุน และกำกับดูแลการดำเนินงาน ประกอบด้วยหน่วยงานภายใน 5หน่วยงาน ซึ่งเป็นหน่วยงานหลัก 12 หน่วยงาน คือ
ราชการบริหารส่วนกลาง 12 หน่วยงาน คือ
- สำนักงานเลขานุการกรม
- สำนักตรวจราชการ
- กองการเจ้าหน้าที่
- กองคลัง
- กองแผนงาน
- ศูนย์สารสนเทศเพื่อการพัฒนาชุมชน
- สถาบันการพัฒนาชุมชน
- สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน
- สำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน
- สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน
- กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
- กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
หน่วยงานภายใน 5 หน่วยงาน คือ
- กลุ่มตรวจสอบภายใน
- กองประชาสัมพันธ์
- ศูนย์ประสานราชการจังหวัดชายแดนใต้ กรมการพัฒนุมชน (ศปก.จชต.พช.)
- กลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรมข้าราชการกรมการพัฒนาชุมชน
- สหกรณ์ออมทรัพย์
ราชการบริหารส่วน ภูมิภาคทำหน้าที่ดำเนินงานพัฒนาชุมชน ประสานการดำเนินงานพัฒนาชุมชนกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด จำนวน ๗๖ แห่ง และสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ ๘๗๘ แห่ง
อัตรากำลัง
กรมการพัฒนาชุมชนมีบุคลากร ณ เดือนตุลาคม 2559 จำนวนทั้งสิ้น 6,534 คน แบ่งเป็น ข้าราชการ จำนวน 6,347 คน ลูกจ้างประจำ จำนวน 130 คน และพนักงานราชการ จำนวน 57 คน โดยเป็นเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในส่วนกลาง จำนวน 543 คน และปฏิบัติงานในส่วนภูมิภาค จำนวน 5,991 คน